D HOUSE GROUP ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ส่งเสริมการลงทุนในกิจการของรัฐเอกชน
D HOUSE GROUP
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
นวัตกรรมใหม่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โครงการจัดสรรที่ดิน 2025 ผู้บริโภคจะให้รับสินค้าที่ดีและการบริการที่พัฒนาขึ้นตามแบบสากลมี กฎหมายรับรอง
นวัตกรรมช่วยเสริมสร้างธุรกิจได้อย่างไร
-นวัตกรรมคืออะไร?
-นวัตกรรมมีอยู่ 3 ประเภท
-สามารถส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในที่ทำงานได้อย่างไร
-สรุป
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในปัจจุบันนวัตกรรมถือเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะตัดสินว่าบริษัทไหนจะอยู่รอดหรือต้องปิดตัวลง เพราะการแข่งขันทุกวันนี้ ไม่ใช่แค่การแข่งขันกันระหว่างธุรกิจเท่านั้น ยังต้องต่อสู้กับความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้นของผู้บริโภคอีกด้วย ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องเพื่อให้ธุรกิจดำเนินการต่อไปได้ นวัตกรรมจะช่วยเสริมสร้างธุรกิจได้อย่างไร วันนี้คณะบริหารธุรกิจ สาขา ธุรกิจดิจิทัล จะมาอธิบายให้ทุกคนฟังไปพร้อม ๆ กัน
นวัตกรรมคืออะไร?
สาขา ธุรกิจดิจิทัล ขอบอกเลยว่านิยามของนวัตกรรมนั้นไม่ได้หมายถึงเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่รวมไปถึงการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เป็นของใหม่ เปลี่ยนจากรูปแบบเดิม ๆ มาผนวกกับความสามารถในการบริหารจัดการเพื่อสร้างให้เกิดเป็นธุรกิจใหม่ หรือผลผลิตของความสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำมาสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มหรือประโยชน์ต่อตนเอง เศรษฐกิจ และ สังคม
นวัตกรรมมีอยู่ 3 ประเภท
ธุรกิจดิจิทัล
1.นวัตกรรมจากตัวผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
เป็นประเภทที่เห็นได้บ่อยที่สุด ชัดเจนที่สุด พบในสินค้าและบริการที่เป็นสิ่งใหม่ในตลาด นวัตกรรมประเภทนี้เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้แก้ปัญหาให้กับผู้คน เป็นสิ่งที่ช่วยให้ชีวิตมนุษย์ง่ายขึ้น และมักต้องใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการผลิต
มักมาในรูปแบบของการของการตอบโจทย์ความต้องการ เช่น เมื่อเราใช้รถยนต์และน้ำมันแพงขึ้นเรื่อยๆ รถยนต์ไฟฟ้าจึงเกิดขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้กจากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมขึ้นมา
2.นวัตกรรมจากการผลิต (Process Innovation)
เป็นการใช้กระบวนการผลิตแบบใหม่ที่ส่งผลให้การทำงานโดยรวมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อมอบสินค้า และบริการไปถึงผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
มักเป็นรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงหลังบ้าน คือเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ภายในองค์กรกันเอง ทั้งเรื่องเครื่องมือ กรรมวิธีการผลิต การจัดจำหน่าย หรือรูปแบบการจัดการองค์กร มุ่งเน้นไปในเรื่องของการควบคุมคุณภาพ การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากธุรกิจใดสามารถพัฒนานวัตกรรมประเภทนี้ได้ดีจะช่วยให้ได้เปรียบทางธุรกิจต่อคู่แข่งเป็นอย่างมาก
ตัวอย่าง นวัตกรรมจากการผลิตที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การทำเกษตรด้วยนวัตกรรม Smart Farmer โดยใช้ระบบของ AI ปัญญาประดิษฐ์ และ Internet of Things (IoT) เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานว่าจะเป็นระบบรดน้ำ โดรนพ่นปุ๋ย หรือรถดำนา โดยสั่งการผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตที่พกติดตัวไปได้ทุกที่ สร้างความสะดวกสบายในด้านการผลิตของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี
3.นวัตกรรมทางธุรกิจ (Business Innovation)
คือการสร้างสรรค์วิธีการทำธุรกิจในรูปแบบใหม่ที่สามารถหาเงินได้ มักเป็นผลสำเร็จของนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมการผลิตที่สามารถตอบรับความต้องการของผู้บริโภคได้ ในวันนี้เราคงได้เห็นนวัตกรรมทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจนมีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย กลายเป็นภาพชินตาในปัจจุบัน เช่น การทำธุรกิจแฟรนไชส์ การทำธุรกิจขายตรง การเปิดร้านขายของราคาเดียวทั้งร้าน หรือการเปิดร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ เป็นต้น
นวัตกรรมทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เช่น แอพพลิเคชั่นเรียนรถอย่าง Uber หรือ Grab รวมถึงธุรกิจเดลิเวอรี่อย่าง Food Panda ที่เริ่มจากการสร้าง ‘ผลิตภัณฑ์ใหม่’ จนติดตลาดและเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมจนกลายเป็นนวัตกรรมทางธุรกิจในที่สุด
สามารถส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมในที่ทำงานได้อย่างไร
ธุรกิจดิจิทัล
1.ให้พนักงานทุกคนมีโอกาสได้สร้างสรรค์นวัตกรรม
โดยการส่งเสริมให้พนักงานแชร์ไอเดียและมีส่วนร่วมในการต่อยอดจากไอเดียใหม่ๆ เพราะพนักงานทุกคนเป็นผู้สร้างนวัตกรรมได้ทั้งนั้น
2. การให้รางวัลสำหรับพนักงานที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางด้านนวัตกรรมในองค์กร
จะเป็นการกระตุ้นให้พนักงานคิดค้นไอเดียใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ ซึ่งรางวัลนั้นอาจจะเป็นเงินหรือเป็นการขอบคุณต่อหน้าคนทั้งบริษัทบนเครือข่ายขององค์กรก็ได้ จะเป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่สามารถช่วยรักษาการมีส่วนร่วมของพนักงานเอาไว้ได้
3.ทุกไอเดียถือว่าเป็นไอเดียที่ดี (แม้บางครั้งคุณจะไม่เห็นด้วยก็ตาม)
ทุกไอเดียมีข้อดีในตัวของมันเองเสมอ ไอเดียใหม่ๆ ส่วนใหญ่มักจะไม่เวิร์ก แต่อีกหลายไอเดียที่ฟังดูไม่น่าจะเป็นไปได้ก็กลับกลายมาเป็นไอเดียที่ชาญฉลาดได้เหมือนกัน
ดังนั้นจงอย่าด้อยค่าสมาชิกในทีมที่เสนอไอเดียไม่เข้าท่า หรือลงโทษผู้คนเพราะนำไอเดียที่ล้มเหลวไปใช้ แต่ให้ชี้ให้เห็นว่าความล้มเหลวคือกระบวนการเรียนรู้ หากมีการจัดการอย่างเหมาะสมก็จะสามารถส่งเสริมให้ทีมพยายามทำให้ดีขึ้นในครั้งต่อไปได้
4.ผู้สร้างนวัตกรรมทุกคนต้องการเครื่องมือที่เหมาะสม
เทคโนโลยีก็คือเครื่องมือชิ้นหนึ่ง ซึ่งแม้จะสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงานและสร้างนวัตกรรมได้ แต่ความคิดสร้างสรรค์แท้จริงแล้วมาจากพนักงาน ดังนั้นจึงไม่ควรมองว่าแค่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการปัญหา แต่ให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวสนับสนุนให้ผู้คนสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ แทน
สาขา ธุรกิจดิจิทัล สรุปได้ว่าทุกวันนี้บริษัทต่าง ๆ จึงต้องเผชิญกับการแข่งขันจากทั่วทุกมุมโลก องค์กรที่มีชื่อเสียงอาจพบว่าตัวเองต้องหันกลับมาพิจารณากลยุทธ์กันใหม่เนื่องจากคู่แข่งมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมขึ้นไปอีกระดับ นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำธุรกิจ
Real estate innovation
ผมมีวิธีการที่ ทำโครงการให้สำเร็จและเป็นสากล ของโครงการตลอดจนองค์ความรู้ที่สามารถทำให้ ผู้บริโภคได้รับการบริการที่ ดีและยั่งยืน ตามกฎหมายของไทย ในยุคปัจจุบัน และผู้ประกอบการมีความมั่นคงทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี ที่จารึกไว้ใน ประเทศนี้ก่อนใคร ผลงานที่โดดเด่นของผม คือแผนงานโครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐและที่อยู่อาศัยของ โครงการประชารัฐ โมเดลโครงการที่ส่งเสริมการลงทุนในกิจการของรัฐ ตาม พ.รบ.การส่งเสริมการลงทุนในกิจการของรัฐ ปี 2562 (PPPs)
Real estate innovation นวัตกรรม ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ของไทย (แนวคิดและผลงานทางความคิด PPPs)
Real estate innovation ผมมีวิธีการที่ ทำโครงการให้สำเร็จและเป็นสากล ของโครงการตลอดจนองค์ความรู้ที่สามารถทำให้ ผู้บริโภคได้รับการบริการที่ ดีและยั่งยืน ตามกฎหมายของไทย ในยุคปัจจุบัน และผู้ประกอบการมีความมั่นคงทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี ที่จารึกไว้ใน ประเทศนี้ก่อนใคร ผลงานที่โดดเด่นของผม คือแผนงานโครงการ ซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ ประชารัฐและที่อยู่อาศัยของ โครงการประชารัฐ โมเดลโครงการที่ส่งเสริมการลงทุนในกิจการของรัฐ ตาม พ.รบ.การส่งเสริมการลงทุนในกิจการของรัฐ ปี 2562 (PPPs)
นวัตกรรมช่วยเสริมสร้างธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ โครงการจัดสรรที่ดิน ที่ดีได้และ ผู้บริโภคจะให้รับสินค้าที่ดีและการบริการที่พัฒนาขึ้นตามแบบสากลมี กฎหมายรับรอง
นวัตกรรมใหม่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โครงการจัดสรรที่ดิน 2025 ผู้บริโภคจะให้รับสินค้าที่ดีและการบริการที่พัฒนาขึ้นตามแบบสากลมี กฎหมายรับรอง
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2568
พฤติกรรมการบริโภคผลไม้
พฤติกรรมการบริโภคผลไม้
1. ผลไม้ที่นิยมบริโภคประจำ ซึ่งได้รับความนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ แตงโม ร้อยละ 44.93 ส้ม ร้อยละ 42.91 และกล้วย ร้อยละ 29.11 ซึ่งเป็นที่นิยมในผู้ตอบเกือบทุกกลุ่มอายุ อาชีพ รายได้ และภูมิภาค
2. ผลไม้ตามฤดูกาล ในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ที่ได้รับความนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ ทุเรียน ร้อยละ 58.83 เงาะ ร้อยละ 47.68 และมังคุด ร้อยละ 38.49 ซึ่งเป็นที่นิยมในทุกกลุ่มอายุ อาชีพ รายได้ และภูมิภาค
3. เหตุผลในการเลือกบริโภคผลไม้แต่ละชนิด คือ ชอบในรสชาติ ร้อยละ 76.44 ตามด้วยปัจจัยด้านราคา ร้อยละ 20.15 การบำรุงสุขภาพ ร้อยละ 20.11 ตามกระแสนิยม ร้อยละ 4.80 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.95 เมื่อพิจารณาตามชนิดผลไม้ พบว่า รสชาติยังคงเป็นปัจจัยหลัก โดยมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 50 ในทุกชนิดผลไม้
4. รูปแบบการจำหน่ายปลีกผลไม้ ผู้ตอบร้อยละ 65.53 นิยมเลือกซื้อผลไม้แบบที่ไม่ได้บรรจุแพ็ค หรือต้องการคัดเลือกผลไม้เอง รองลงมาคือ ผลไม้ที่แพ็คเรียบร้อยแล้วและตัดแต่งพร้อมทาน ร้อยละ 24.48 และผลไม้ที่แพ็คแล้วแต่ยังไม่ได้ตัดแต่ง ร้อยละ 10.00 หากพิจารณาตามกลุ่มอายุ อาชีพ รายได้ และภูมิภาค พบว่า ผู้ตอบทุกกลุ่มนิยมเลือกซื้อผลไม้แบบที่ไม่ได้บรรจุแพ็ค
5. ปริมาณการบริโภคผลไม้ ช่วงเดือน พฤษภาคม – สิงหาคม นี้ ผู้ตอบร้อยละ 48.98 จะบริโภคผลไม้เท่าเดิมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รองลงมาคือ ไม่ทราบ ร้อยละ 23.26 บริโภคลดลง ร้อยละ 16.32 และบริโภคมากขึ้นร้อยละ 11.45 สำหรับการพิจารณาตามกลุ่มอายุ อาชีพ รายได้ และภูมิภาค พบว่า กลุ่มผู้ตอบที่มีสัดส่วนคนที่มีแนวโน้มบริโภคมากขึ้นค่อนข้างสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ จะเป็นกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี และนักศึกษา
นายพูนพงษ์ กล่าวถึงผลสำรวจครั้งนี้ว่า ปัจจุบันผู้บริโภคชาวไทยนิยมบริโภคผลไม้โดยเน้นความชอบในรสชาติเป็นสำคัญ และจะเลือกซื้อ ณ สถานที่จำหน่ายที่มีความสะดวก ราคาเหมาะสม สินค้ามีคุณภาพ และสามารถเลือกสินค้าได้ ส่งผลให้ตลาดสด/ตลาดนัด ร้านผลไม้ และซูเปอร์มาร์เก็ต ที่มีคุณสมบัติข้างต้น รวมถึงการจำหน่ายแบบไม่แพ็ค ที่เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อเลือกสินค้าเอง ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ดังนั้น เกษตรกรผู้ผลิตผลไม้จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพสินค้า โดยเฉพาะรสชาติ และเชื่อมโยงผลผลิตไปยังตลาดที่ได้รับความนิยม พร้อมทั้งเพิ่มช่องทางสั่งซื้อโดยตรงเพื่อจับตลาดผู้มีกำลังซื้อสูง
สำหรับบรรยากาศการซื้อขายผลไม้ในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคมนี้ คาดว่าจะทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลงจากปีที่แล้วมากนัก ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ตลอดจนภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องบริหารจัดการผลผลิตที่ทยอยออกสู่ตลาด โดยเฉพาะการกระจายผลผลิตทั้งตลาดภายในและต่างประเทศ โดยในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามดูแลสถานการณ์การจำหน่ายผลไม้ในประเทศอย่างใกล้ชิด ทั้งการดำเนินโครงการ “โมบายธงฟ้า” เพื่อเป็นจุดซื้อทางเลือกให้ผู้บริโภค รวมถึงการประสานผู้ประกอบการ ผู้รวบรวม โรงงาน ห้างค้าปลีกค้าส่ง ห้างท้องถิ่น และสถานีบริการน้ำมัน ตลอดจนโครงการคอนโดมีเนียมและหมู่บ้าน เพื่อกระจายจุดรับซื้อและจำหน่ายผลไม้อย่างทั่วถึง ขณะที่ตลาดต่างประเทศ ได้มีการแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกทางการค้า เพื่อให้การขนส่งผลไม้ทางเรือ และทางถนนผ่านด่านการค้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างคล่องตัว และล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการตามข้อสั่งการจากนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี กำหนดมาตรการจัดการผลไม้และพืชเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมผลไม้ 11 ชนิด ได้แก่ (1) ทุเรียน (2) มังคุด (3) เงาะ (4) ลองกอง (5) ลำไย (6) สับปะรด (7) ลิ้นจี่ (8) ส้มโอ (9) ส้มเขียวหวาน (10) มะยงชิด และ (11) มะม่วง ซึ่งเชื่อมั่นว่า การดำเนินการข้างต้น จะสามารถเพิ่มช่องทางกระจายผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมรายได้เกษตรกร และช่วยให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลไม้คุณภาพดี ราคาเหมาะสม ตลอดปี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)